วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บันทึกการเรียนรู้สัปดาห์ที่เจ็ด

ความสงบที่ภายใน

การที่เราจะสงบได้นั้นจะต้องเริ่มจากภายในก่อน ทุกอย่างจะทำสำเร็จได้ด้วยใจ
สามารถรู้ทันปัญหาที่เกิดขึ้นได้ถ้าใจเราสงบมีสติเราจะสามารถแก้ปัญหาทุกอย่างได้
เพราะเราสามารถใช้ปัญญาที่เรามีมาแก้ปัญหาได้ และพิจารณาถึงเหตุผลนั้นๆของปัญหาได้
เราต้องควบคุมจิตใจของเรา ไม่ให้มีความทุกข์หรือเศร้า

ความสงบร่มเย็น อาจพูดได้ว่ามีเป็นสองส่วน คือความสงบภายนอกกับความสงบภายใน
ภายนอกได้แก่สภาวะแวดล้อม หรือสภาวะความเป็นอยู่ ที่เป็นปกติ ปลอดโปร่งจากสิ่งรบกวน
ที่ทำให้เกิดภัยอันตราย หรือเกิดความกระวนกระวาย เดือดร้อนต่างๆเช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ หรือ
ความขัดแย้งวุ่นวาย ความมุ่งร้ายทำลายกัน ภายในได้แก่จิตใจที่สะอาดแจ่มใส
อิ่มเอิบสบาย ไม่กังวล ไม่มีความขุ่นเคืองขัดข้องใจ
ความสงบภายในหรือจิตใจที่ปลอดโปร่งจากสิ่งรบกวนนี้สำคัญมาก ควรจะมำให้มีขึ้น
เพราะผู้ที่มีจิตใจสงบ จะใช้ความคิดพิจารณาของตนได้อย่างกว้างขวาง และถูกต้องดีขึ้น
ความคิดที่ประกอบด้วยความสงบนี้มีศักยภาพสูง อาจนำไปใช้ คิดอ่านสร้างสรรค์สิ่งที่อำนวยความสุข
ความเจิญก้าวหน้า ตลอดจนชื่อเสียง เกียรติคุณ อันเป็นสิ่งที่แต่ละคนปราถนา
ให้เกิดผลได้

เราทุกคนจะต้องรู้จักการรักษาความสงบ หัดทำจิตใจให้สงบ เพื่อที่จะได้มีสติคิดใตร่ตรองเรื่องต่างๆ
อย่างรอบคอบ เพื่อผลสัมฤทธิ์ที่เกิดมานั้นจะได้เป็นผลที่ดีที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น